ในยุคสมัยนี้ มีบางคนเรียกว่ายุค 4.0 ซึ่งเป็นยุคที่เรียกว่าคนซื้อโหยหาประสบการณ์ที่สินค้า หรือบริการให้คืนกับ อยากได้รับการยอมรับ นั้นทำให้เกิดภาพสะท้อนกลับมายังเจ้าของสินค้าว่าวันนี้คุณเสนอสินค้าแบบไหน เพราะ “ในโลกที่มีการแข่งขันอย่างมากมาย แบรนด์ที่จะโดดเด่นออกมาได้ต้องมีการวางตำแหน่งที่ดี!”
“In a competitive crowded world market, it’s the well positioned brands that Stands Out!” ― Bernard Kelvin Clive
ตำแหน่งทางการตลาด – Market Positioning
คือ การรับรู้ของผู้บริโภคเกี่ยวกับแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง และการวางตำแหน่งทางการตลาด คือกระบวนการสร้างภาพลักษณ์ หรือเอกลักษณ์ของตราสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ในลักษณะหนึ่ง
Market position refers to the consumer’s perception of a brand or product in relation to competing brands or products. Market positioning refers to the process of establishing the image or identity of a brand or product so that consumers perceive it in a certain way. – Anonymous
หรือถ้าในทางทฤษฎี คือ “การออกแบบข้อเสนอและภาพลักษณ์ของบริษัท เพื่อครอบครองตำแหน่งที่โดดเด่น และแตกต่างในใจของตลาดเป้าหมาย”
“The act of designing the company’s offering and image to occupy a distinctive place in the mind of the target market” – Philip Kotler
เพราะ การวางตำแหน่งของแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ – Positioning of a Brand เป็นกระบวนการเชิงกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำการตลาดของแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ในลักษณะหนึ่ง เพื่อสร้างและสร้างภาพลักษณ์หรือตัวตนภายในจิตใจของผู้บริโภคในตลาดเป้าหมาย
การวางตำแหน่งทางการตลาดของแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์จะต้องรักษาไว้ตลอดอายุของแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ การทำเช่นนี้จำเป็นต้องมีการริเริ่มทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอกย้ำการรับรู้ของตลาดเป้าหมายที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์
จุดประสงค์หลักของ “POSITIONING” คือ การทำให้สินค้าของเราโดดเด่น นั่นคือ ‘แตกต่าง’ แต่ในโลกที่คุณสมบัติทุกอย่างของสินค้าสามารถถูกลอกเลียนแบบได้ สิ่งที่เราต้องทำ คือ เราต้องปรับมุมมองของกลุ่มลูกค้าเราเช่นกันให้เห็นอะไรที่เหนือกว่าแค่ “คุณสมบัติ” แต่เป็น “คุณค่า”
ประโยชน์ของการวางตำแหน่งในการตลาด Benefits of positioning in marketing
_สร้างสถานะการแข่งขันที่แข็งแกร่ง Create a strong competitive position
การวางตำแหน่งที่เหมาะสมมีผลต่อการที่ลูกค้ารับรู้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณเมื่อเทียบกับคู่แข่ง เมื่อคุณสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของผลิตภัณฑ์ / บริการในใจลูกค้าคุณมีแนวโน้มที่จะได้เปรียบทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนั่นคือการสร้าง “ความแตกต่าง” ในสายตาของลูกค้าได้สำเร็จ
_ปรับปรุงการขาย Improve sales
หนึ่งในเป้าหมายหลักของธุรกิจคือการเพิ่มยอดขายและรายได้ การมีข้อเสนอที่เกี่ยวข้องมากขึ้นและการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น บริษัท ของคุณอาจสามารถเจาะตลาดใหม่ ซึ่งจะกลายเป็นลูกค้าใหม่และยอดขายเพิ่มขึ้นได้
_กำหนดตลาดเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น Define a clearer target market
การวางตำแหน่งในการตลาดช่วยให้คุณสามารถอ้างสิทธิ์คุณลักษณะหรือประโยชน์ที่เฉพาะเจาะจง และมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ / บริการของคุณให้สอดคล้องกัน เพื่อให้คุณปรากฏเป็นผู้เชี่ยวชาญในบริการ ด้วยเหตุนี้มูลค่าของคุณต่อผู้มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก
_ตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น Make more effective decisions
เมื่อคุณมีหลักยึดเพื่อกำหนดทิศทางที่ชัดเจน คุณจะสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นตลอดทั้งกระบวนการ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็มากยิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมอบความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า
_เชื่อมต่อกับความต้องการของผู้บริโภค Connect to consumer needs
เมื่อมีการวางตำแหน่งในการตลาดชัดเจน เรามีโอกาสที่จะสื่อสารถึงประโยชน์ที่สำคัญที่ผลิตภัณฑ์ / บริการของของเราได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า และถ้าเราสามารถเข้าถึงจิตใจ และความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี “ความภักดี – Brand Loyalty” ก็จะเกิดขึ้น
_สร้างแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ Build effective brand
การกำหนดตำแหน่งสินค้าที่ดีจะช่วยสร้างแบรนด์ได้ชัดเจนขึ้น เพราะทั้งเรื่องการกำหนดตำแหน่งสินค้า และการสร้างแบรนด์ต้องสอดคล้องในทางเดียวกัน เมื่อแบรนด์ดีก็จะทำให้ตำแหน่งสินค้าของเราชัดเจนมากขึ้น เพราะแบรนด์เป็นสิ่งที่มาหลังจากเราสร้างตำแหน่งสินค้า
อย่าลืมว่า Positioning ไม่ใช่เรื่องของการเลือกกลุ่มเป้าหมาย แต่เป็นการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่เราได้เลือกไว้ก่อนหน้านี้
Positioning ที่ดีต้องมีความเหนือกว่าคู่แข่ง หรือต้องมี “จุดขายที่เป็นเอกลักษณ์ – Unique Selling Point” ที่จะทำให้เราแตกต่างกับคู่แข่งและต้องมี “คุณค่า – Value” ในมุมมองของลูกค้าด้วย เพราะ “Positioning” คือการตอบว่าเราจะขายสินค้ายังไงให้กับกลุ่มเป้าหมายเรา
Positioning สามารถแบ่งได้เป็น 3 ด้านหลัก ๆ ได้แก่
1. Emotional คือจุดยืนทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก สะท้อนออกมาในรูปแบบของภาพลักษณ์ สินค้าที่เหมาะกับการวาง Positioning แบบนี้คือสินค้าที่ที่ใช้แสดงออกถึงฐานะ สินค้าหรูหรา / ฟุ่มเฟือย สินค้าที่ใช้แล้วดูดีเมื่อถูกคนอื่น หรือ สินค้าที่ใช้เพื่อเป็นรางวัลของชีวิต ส่งผลให้ลูกค้ามักจะไม่สนใจเรื่องราคาของสินค้า
จุดขายของจุดยืนนี้ คือ การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้กับสินค้าและบริการ
2. Functional คือจุดยืนด้านการใช้งาน คุณภาพของสินค้า ประโยชน์ที่แท้จริงของสินค้าหรือบริการ สินค้าที่เหมาะกับการวาง Positioning แบบนี้คือ สินค้าหรือบริการทั่วไปที่เน้น ฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆ ความคุ้มค่าที่ได้รับ (อาจจะไม่ดีที่สุดแต่คุ้มราคาก็ได้) สรรพคุณของสินค้าและบริการเป็นหลัก
จุดขายของจุดยืนนี้ คือ จุดยืนด้านการใช้งาน คือสรรพคุณของสินค้า
3. Differentiation คือจุดยืนด้านความแตกต่าง การสร้างความแตกต่างจากสินค้าประเภทเดียวกันในตลาด สินค้าที่เหมาะกับจุดยืนนี้คือ สินค้าที่ใหม่ในตลาด สินค้าที่ไม่สามารถทดแทนได้ อย่างไรก็ตามความแตกต่างอาจจะได้ทั้งความแตกต่างเกี่ยวกับ Emotional และ Functional
จุดขายของจุดยืนนี้ คือ การทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าไม่มีสินค้าทดแทน (หรือมีน้อย)
ประเภทของกลยุทธ์การกำหนดตำแหน่งที่น่าสนใจ
_คุณสมบัติและประโยชน์ของสินค้า Product attributes and benefits การเชื่อมโยงแบรนด์ / ผลิตภัณฑ์ของคุณกับคุณลักษณะบางอย่างหรือกับคุณค่าที่เป็นประโยชน์
_ราคาสินค้า Product Price เพราะผลิตภัณฑ์ราคาต่ำที่สุดในระดับคุณภาพที่เหมาะสมมักจะชนะในหลาย ๆ ด้านผลิตภัณฑ์
_การใช้งาน รวมทั้งการประยุกต์การใช้งาน Product use and application การใช้งานกับคุณสมบัติสินค้าอาจจะฟังดูใกล้ๆกัน ในกรณีนี้เราก็ต้องมาดูกันอีกทีว่าการใช้งานสินค้าเราเหมาะสมกับลูกค้าที่สุดแล้วหรือยัง หรือเน้นการใช้งานเฉพาะของสินค้าเรา
_คุณภาพ รวมทั้งคุณค่า ของผลิตภัณฑ์ Product Quality and Value ในแง่ของคุณภาพ หรือคุณค่าที่เด่นในแง่ไหน เพราะคุณภาพสามารถช่วยหักล้างสงครามราคาได้มากที่สุด
_คู่แข่ง Competitors เป็นการเปรียบเทียบในเชิงว่าเราดีกว่าคู่แข่งอย่างไร เช่น การวางตำแหน่งที่ดีที่สุดของอันดับ 2 ก็คือ “เราไม่เหมือนอันดับหนึ่ง”
_ผู้ใช้ Users ในแง่ของเป็นคือใคร ในกรณีที่ผู้ใช้มีความเฉพาะเจาะจง
THE BOTTOM LINE
การวางตำแหน่งทางการตลาด หมายถึงความสามารถในการที่เราจะเข้าไปมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของลูกค้า เกี่ยวกับแบรนด์ หรือผลิตภัณฑ์ของเราเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง
วัตถุประสงค์ของการวางตำแหน่งทางการตลาด คือการสร้างภาพลักษณ์หรือเอกลักษณ์ของแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ในทางใดทางหนึ่ง
Market Positioning refers to the ability to influence consumer perception regarding a brand or product relative to competitors.
The objective of market positioning is to establish the image or identity of a brand or product so that consumers perceive it in a certain way.
การวางตำแหน่งในการตลาดไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เวลาความทุ่มเทและแม้แต่ความกล้าที่จะพูดว่า“ ไม่” กับบางเรื่อง อย่างไรก็ตามการวางตำแหน่งควรทำบนพื้นฐานของข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์ตลาด และการประเมินตำแหน่งปัจจุบัน
“กลยุทธ์การวางตำแหน่งแบรนด์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการค้นหาที่ที่เหมาะสำหรับแบรนด์ว่าจะอยู่ที่ไหนในตลาด รวมทั้งอยู่ที่ไหนในใจลูกค้า”
Brand positioning strategy is about finding a right place for a brand in market place as well consumer mind. -Anonymous –
อย่าลืม กลับมาดูการจัดวางตำแหน่งสินค้าของคุณอีกรอบว่าเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของคุณหรือเปล่า???
ต้องการคำปรึกษา หรือมีคำถาม ติดต่อที่ Comment, Messenger หรือ E-mail : 527may27@gmail.com ได้เลยนะคะ
#527 #brandnode #marketing #research #SME #brand #branding #consultant #knowledge #rebrand #marketing #consumerinsight #แบรนด์ #วิจัย #การตลาด #การสร้างธุรกิจ