Skip to content

BECAUSE OF CRISIS # 1 เพราะโควิด-19 : บางสิ่งที่ควรรู้ก่อนสร้างแบรนด์ – # 1

ขอเกริ่นสักนิดบทความช่วงนี้ผู้เขียนจะพยายามรวบรวม และใช้ประสบการณ์ในการเลือกสรร และวิเคราะห์ว่าอะไรควรจะรู้เพื่อใช้ในการสร้างแบรนด์ หรือทำธุรกิจของตนเอง และจากสถานการณ์เราจะพบว่า จากวิกฤตที่เกิดขึ้นนี้ อาจจะกลายเป็นโอกาสการเปลี่ยนแปลงชีวิตที่ยิ่งใหญ่ของใครบางคน เพราะจริงๆแล้ว

_ถ้าคุณเป็นแบรนด์ใหญ่เวลานี้ อาจจะเป็นเวลาที่สร้างประสบการณ์แบรนด์ที่ฝังรากลึกอยู่ในใจกลุ่มเป้าหมาย

_หรือถ้าคุณเป็นแบรนด์เล็ก หรือสร้างธุรกิจใหม่ นี่ก็เป็นโอกาสที่อาจจะเรียกว่าใช้เงินลงทุนน้อยที่สุดในการสร้างกจการของตัวเองก็ได้

ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับมุมมอง การหาโอกาสให้กับตัวเราเอง เราอย่าเอาแต่โฟกัสไปที่ด้านลบของโควิด-19 เราเอามันมาเรียนรู้ และหาโอกาสที่จะอยู่ไปกันดีกว่า

“ทุกวิกฤตที่ลำบากแค่ไหน สุดท้ายก็จะเป็นโอกาสที่จะทำให้ชีวิตของคุณเปลี่ยนไป ไม่ธรรมดาในทางใดทางหนึ่ง” “Any deep crisis is an opportunity to make your life extraordinary in some way.” — Martha Beck, Author

5 เรื่องที่น่ารู้วันนี้ สำหรับคนทำธุรกิจ (cr. Smethailandclub)

1. ผู้บริโภคยังยินดีจ่ายเสมอ

การจับจ่ายของผู้บริโภคลดลง เพราะสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ทั้งเรื่องงาน รายได้ เศรษฐกิจโดยรวม ออกข้างนอกไม่ได้ หรือออกไปก็ไม่กล้าใช้เวลาอยู่นาน คิดมากเรื่องการจับจ่าย จนถึงกันเงินสำรองไว้

แต่เมื่อผู้บริโภครู้สึกจำเจ เบื่อหน่าย ที่จะอยู่แต่บ้าน ทางออกของผู้บริโภตจำนวนมากคือการซื้อของออนไลน์เพื่อทำให้ชีวิตสดชื่นขึ้น และนั่นคือโอกาสที่เจ้าของธุรกิจที่จะทำให้ธุรกิจของตัวเองเติบโตได้

2. ต้องยอมรับว่าออนไลน์เปลี่ยนไปมาก

ถึงแม้ว่าจะมีการคลายล็อคแล้วก็ตาม สิ่งที่พบคือผู้บริโภคจำนวนมากยังรู้สึกสะดวกสบายที่จะซื้อของออนไลน์ และได้รับของภายในไม่กี่วัน หรือบางครั้งสั่งเช้าได้เย็นก็ยังมี

ดังนั้นยิ่งง่าย ยิ่งสะดวกสบาย ยิ่งจ่ายง่ายขึ้น หมายความว่าถึงแม้ว่าการค้าขายปกติจะกลับมา แต่การขายแบบออนไลน์จะไม่หายไป แต่เป็นการเพิ่มช่องทางมากขึ้น เราควรเน้นไปที่การดูแลลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น เช่น การเก็บข้อมูลลูกค้าแต่ละรายแล้วนำมาพัฒนาให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อซ้ำได้สะดวกขึ้น

3. โซเชียลมีเดียสามารถเปิดตัวแบรนด์ได้ในชั่วข้ามคืน

วันนี้เราจะเห็นเจ้าของธุรกิจเยอะมากที่ทำคนเดียวที่อยู่ในโลกโซเชียลมีเดีย นั่นคือวันนี้คุณสามารถเริ่มกิจการ จนสร้างแบรนด์ให้ประสบผลสำเร็จได้โดยไม่ต้องใช้เงินทุนมหาศาลแบบสมัยก่อน นั่นคือโอกาส

อย่างไรก็ตามก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ใช้โซเชียลมีเดียจะประสบความสำเร็จ เพราะวันนี้ในโลกโซเชียลมีเดียก็มีการปรับตัวมากมาย มีความเป็นธุรกิจมากขึ้น นั่นคือการแสดงออกของตัวตน หรือแบรนด์ที่ชัดเจน รวมทั้งการวางแผนที่ฉลาดเท่านั้นที่จะอยู่รอดได้ ต้องเตือนตัวเองกันว่าสูตรสำเร็จแทบจะไม่มีจริง

4. ผู้บริโภคชื่นชอบแบรนด์ที่ปฏิสัมพันธ์ตรงมาที่เค้า แบบ D2C (Direct to Customers)

ในวันนี้เราจะพบว่าเราอยากจะซื้อของ หรือติดต่อโดยตรงไปที่แบรนด์โดยไม่ผ่านคนกลาง เพราะวันนี้โลกโซเชียลทำให่ทุกอย่างง่ายขึ้น การที่ผู้บริโภคสามาถติดต่อกับแบรนด์ หรือเจ้าของสินค้าโดยตรงได้ เป็นการสร้างความมั่นใจมากขึ้น

และถ้าแบรนด์ หรือเจ้าของสินค้ารู้สึกเป็นพวกเดียวกันได้ ก็จะทำให้เกิดแบรนด์คอมมูนิตี้นั้นๆขึ้น ซึ่งลูกค้าจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ และอาจจะช่วยทำหน้าที่สื่อสารแบรนด์เราไปให้กลุ่มของตัวเอง ไม่ว่าจะแชร์ หรือรีวิวสินค้า ซึ่งแน่นอนว่าวิธีนี้มีประสิทธิภาพมากกว่าการโฆษณาแบบดั้งเดิมมากทีเดียว

5. อย่ากลัวที่จะปรับ เปลี่ยน  ตัวเองเพื่อหาโอกาสให้กับธุรกิจ

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เจ้าของธุรกิจต้องมองหาและเปิดรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่มีอะไรผิดหรือจะเปลี่ยนทิศทางไปจากเดิม ซึ่งอาจนำไปสู่ความสำเร็จหรือผลกำไรเพิ่มเติม ถ้าหากเอาแต่ทำแบบเดิมในวันที่สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปแล้ว นั่นก็เท่ากับปิดประตูแห่งโอกาสไปแล้ว

โดยอาจจะเริ่มจากความชำนาญหรือจุดเด่นของธุรกิจที่สามารถทำอะไร หรือต่อยอดอะไรอีกได้ เช่น เราเย็บเสื้อผ้าเก่ง เราก็อาจจะปรับมาเย็บหน้กากอนามัย แต่คนก็ทำกันเยอะ เราอาจจะเสาะแสวงหาความพิเศษที่ทำให้เราสินค้าเราโดเด่น เช่นอาจจะใช้ผ้าคุณสมบัติพิเศษ เป็นต้น

การมองหาโอกาสเหล่านี้ อาจจะเป็นช่องทางใหม่ของธุรกิจ หรืออาจจะเป้นการพยุงตัวเพื่อถุงเวลาที่เหมาะสมสามารถทำธุรกิจเดิมได้

จะเห็นว่าโอกาสยังมี นอกจากจะมองแค่โอกาสที่เกิดขึ้น มีเรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องคือ Consumers Trends  เพราะ “เทรนด์ก็เช่นเดียวกับม้านั้น ง่ายกว่าที่จะขี่ไปในทิศทางที่กำลังจะไป” Trends, like horses, are easier to ride in the direction they are  going.

– John Naisbitt is an American author and public speaker in the area of futures studies

นั่นคือรู้ทิศทางที่กำลังจะไปย่อมดีกว่าที่จะไม่รู้อะไรเลย และจากสถานการณ์ของโควิด-19 ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในพฤติกรรมผู้บริโภคที่อาจส่งผลกระทบอย่างยั่งยืน เพื่อให้เข้าใจและตอบสนองต่อแนวโน้มของผู้บริโภค สิ่งสำคัญคือต้องคอยดูว่ารูปแบบพื้นฐานที่ขับเคลื่อนแนวทางใหม่ในชีวิต การทำงาน และการซื้อที่เกิดขึ้นนี้ ซึ่งพบว่า (cr.forbes)

6 แนวทางพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

เรื่องที่ 1 ผู้คนต้องการการดูแลเรื่องของจิตใจมากขึ้น ­A Greater Need For A Focus On Mental Health

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนนอกเหนือจากสุขภาพกาย ผู้คนจำนวนมาก เครียด เหน็ดเหนื่อย หรือเผชิญกับกับความวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้า ผูคนเริ่มไร้ตามความสุขที่มาจากจิตใจมากขึ้น วันนี้บางธุรกิจมีการให้การสนับสนุนพนักงานของตนเอง เพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน และพยายามรักษาการเชื่อมต่อ ความคิดสร้างสรรค์ และความสนุกสนานที่ขับเคลื่อนประสิทธิภาพโดยรวม หรือบางธุรกิจ ก็ให้กำลังใจ ช่วยเหลือ  และหาวิธีบรรเทาทุกข์มาสู่ผู้คนนับล้าน ที่กำลังทุกข์อยู่

เรื่องที่ 2 การมองหาการดูแลสุขภาพผ่านโซเชียลมีเดีย Growth In Adoption Of Telehealth And Wellness Apps

วันนี้การใช้โซเชียลมีเดียไม่ใช่เพื่อซื้อของ หรือแค่ดูนู่นนี่นั่น อย่างเดียว วันนี้ผู้คนเรียนรู้ที่จะใช้โซเชียลมีเดียช่วยในการดูแลสุขภาพให้ดีขึ้น แอพเพื่อสุขภาพมีหลากหลายมากมายให้เลือก ตั้งแต่ ดูแลเรื่องการกิน กรออกกำลังกาย และตอนนี้มีการพัฒนาไปถึงการปรึกษาเรื่องการรักษาโรค (Telehealth) เสมือนคุยกับหมอ โดยไท่ต้องเสี่ยงหรือเสียเวลาไปหาหมอถึงโรงพยบาลซะด้วยซ้ำ

เรื่องที่ 3 ผู้ซื้อเริ่มฉลาดในการจับจ่าย ไม่ใช่แค่จำเป็น แต่อาจจะไปถึงเรื่องจรรยาบรรณ  A Rebirth Of Conscious Consumerism

เมื่อก่อนการซื้อของก็คือ เรื่องใช้หรือไม่ใช้ ชอบ หรือไม่ ราคาเท่าไร มีโปรโมชั่นอะไร แค่นั้น แต่วันนี้เราเริ่มพบว่า ไม่ใช่เหตุผลตรรกะทั่วไปแค่นั้นในการซื้อสินค้า แต่คนซื้อเริ่มเห็นสินค้าหรือแบรนด์เป็นคน วันนี้มีกลุ่มคนที่เริ่มถามว่าสินค้านี้เปรียบเสมือนเป็นคนดีหรือ ไม่ เช่น สินค้านี้ทำลายสิ่งแวดล้อมมั๊ย สินค้านี้ช่วยเหลือผู้คนในสังคมอย่างไร หรือบางครั้งสินค้านี้เข้าข้างพรรคการเมืองฝ่ายไหนหรือเปล่า จนกระทั่งบางคนก็เต็มใจที่จะคว่ำบาตรบริษัทที่มีการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณ

เรื่องที่ 4 อาหารทดแทนที่มาจากพืชอาจไม่ใช่เรื่องเล่นๆ Expansion Of Plant-Based And Sustainable Food

ในวันนี้เรากำลังเริ่มเห็นร้านที่เป็นแบรนด์ใหญ่ๆบางร้าน เริ่มมีวัตถุดิบ Plant-Based มาอยู่ในเมนูอาหารทางเลือก ดูเหมือนว่าจะเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งให้ผู้บริโภค รวมทั้งผู้บริโภคที่ห่วงใยสุขภาพ Plant-Based รวมไปถึงอาหารออร์แกนิค ดูเสมือนเป็นทางเลือกของกลุ่มผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเจ้าของธุรกิจอาหาร Plant-Based อาจจะเป็นโอกาสที่ดีก็ได้เช่นกัน

เรื่องที่ 5 ปรับปรุงพื้นที่การใช้ชีวิตกับการทำงาน เพราะกลายเป็นที่เดียวกัน Reinvention Of Spaces For Life And Work

สืบเนื่องมาจากการทำงานหรือเรียนที่บ้านมากยิ่งขึ้น ผู้คนจึงมีความผูกพันกับพื้นที่อยู่อาศัยมากขึ้น และเริ่มให้คุณค่ากับพื้นที่เหล่านั้นแตกต่างกันตอนนี้สำหรับบางคนบ้านเป็นมากกว่าที่ที่คุณอาศัยอยู่แต่เป็นที่ใช้ชีวิต ถึงขั้นกระตุ้นให้บางคนมีการปรับปรุงบ้านเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายทั้งในเรื่องการทำงานและการอยู่อาศัย เช่น ซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่รองรับพื้นที่เอนกประสงค์ และขยายโฮมออฟฟิศ และบางคนเห็นว่าที่อยู่อาศัยปัจจุบันสนองความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไปไม่ได้ ก็อาจจะมีการย้ายที่อยู่ใหม่ เพื่อสนองความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไป 

เรื่องที่ 6 เริ่มมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี A Recommitment To Healthy Living

จากสถานการณ์ที่ผ่านมาทำให้ผู้คนหันมาสนใจเรื่องสุขภาพอย่างจริงจังมากขึ้น ตั้งแต่เรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย ไม่ใช่ไปที่ยิม แต่อาจจะเป็นการออกกำลังกายที่บ้าน ดังนั้นอุปกรณ์ออกกำลังกายที่บ้านจึงมีความต้องการมากขึ้น ตลอดจนพบว่าอาหารเสริม วิตามินต่างๆ ที่ผู้คนเชื่อว่ามีผลดีต่อสุขภาพ กำลังมาแรง เช่นกัน

จากแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคที่กล่าวมานี้ แนวโน้มเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุแต่เกิดจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคพิจารณาอย่างลึกซึ้งว่าพวกเขาให้คุณค่ากับสิ่งใด และพวกเขาจะนำเงินที่หามาอย่างยากลำบากทำอะไร การระบาดใหญ่อาจทำให้ก้าวของการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงจะไม่หยุดนิ่ง และสิ่งต่างๆ จะไม่เพียงแค่กลับไปเป็นเหมือนเดิม แต่จะกลายป็นบทเรียนเรื่องการปรับตัวจริงๆ

THE BOTTOM LINE

เราจะพบว่าในวิกฤตย่อมมีโอกาส อย่างไรก็ตามเราก็ต้องรู้ว่าวันนี้ ผู้บริโภคมีแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของพวกเขา ตั้งแต่สุขภาพส่วนตัวไปจนถึงอาหารการกินและที่บ้าน คนทำธุรกิจต้องคอยจับตาดู แนวโน้ม และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด ไม่เช่นนั้นคุณจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

ทุกวิกฤตเป็นโอกาสที่จะหดตัวหรือขยายตัว Every crisis is an opportunity to shrink or expand. – Anonymous –

ต้องการคำปรึกษา หรือมีคำถาม ติดต่อที่ Comment, Messenger หรือ E-mail : 527may27@gmail.com ได้เลยนะคะ

#527 #brandnode #marketing #research #SME #brand #branding #consultant #knowledge #rebrand #marketing #consumerinsight #แบรนด์ #วิจัย #การตลาด #การสร้างธุรกิจ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *