Skip to content

เรื่องควรรู้เพื่อหลีกเลี่ยงความล้มเหลวเวลาสร้างแบรนด์ของ SME : รับมือให้ดีจะได้เดินหน้าต่อได้ – Branding (SME) # 10

จากความยากลำบากในช่วงนี้ และยังไม่รู้ว่าสถานการณ์นี้จะเป็นไปยาวนานแค่ไหน ขนาดในสถานการณ์ปกติธุรกิจขนาดเล็ก อย่าง SME หรือ Micro SME ยังแทบจะสร้างแบรนด์กันไม่ได้ ทำธุรกิจกันวันต่อวัน ขายได้มีกำไรก็ดีใจกันไป แต่แบรนด์คืออะไรไม่รู้ บางคนก็หลงวนเวียนว่าก็มีแบรนด์แล้ว แล้วโชว์หรานี่ไง เอาโลโก้ที่ลอกใครมามาให้ดู หรือบอกว่าชอบแล้วสวยดี ทำกันไป หลงทางกันไป….

แล้วบวกกับสถานการณ์แบบนี้ บางรายโชคดีสินค้าเข้ากับสถานการณ์ ก็รอดทำกันไป บางรายก็งงว่าดีเป็นพักๆ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายคละเคล้ากันไป    

การทำธุรกิจขนาดเล็ก ถ้าเอาแต่ไม่วางแผนปล่อยไปเรื่อยๆ เพราะคิดว่ากิจการเล็กๆ ทำแค่นี้พอ คำว่ายิ่งใหญ่ มั่นคงแต่ละคนไม่เท่ากัน แต่

กิจการที่ยิ่งใหญ่หรือมั่นคงวันนี้ ส่วนใหญ่เริ่มต้นจากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ และรวมถึงธุรกิจขนาดเล็กของคุณด้วย

“A big business starts small.” -Richard Branson

นั่นคือ ไม่ว่าคุณทำอะไร คุณต้องคิด ต้องวางแผน โดยเฉพาะในสถานการณ์ในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจขนาดเล็ก – SME มีทั้งข้อได้เปรียบ และข้อเสียเปรียบในวันนี้ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกอยู่ในมุมไหน คิดอย่างไร

ก่อนอื่นขอกลับไปที่จุดเริ่มต้นสำหรับบางคนที่มีความจำเป็นต้องเข้ามาเป็นเจ้าของธุรกิจวันนี้ก่อน สำรวจตัวเองด้วย 6 ขั้นตอนที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันความล้มเหลวในช่วงเริ่มต้นกิจการ (Cr. bangkokbanksme)

1. ต้องมีความพร้อมในสิ่งที่จะทำ เช่น สูตรอาหารยังไม่นิ่ง โลโก้ยังไม่เสร็จ ชื่อแบรนด์ยังไม่มี ก็ยังไม่ควรเร่งเปิดกิจการ ไม่ใช่คิดว่าต้องรีบทำไปก่อนแล้วค่อยปรับปรุง หรือแก้ไขทีหลัง

2. ต้องสร้างแบรนด์ให้น่าจดจำ จะทำตลาดง่ายขึ้น ชื่อของแบรนด์ รวมทั้งภาพลักษณ์ที่ออกไปของแบรนด์ ควรจะมีเอกลักษณ์ ยิ่งถ้าโดดเด่น ติดหู ติดตา ก็อาจจะทำให้ติดเข้าไปในใจของลูกค้าได้ง่ายขึ้น เพราะแบรนด์ที่โดดเด่นตั้งแต่ชื่อก็ช่วยกระพือปีกให้บินสูงได้ง่ายขึ้น

3. สินค้าและบริการโดดเด่นราคาเหมาะสม สินค้าและบริการที่มีเอกลักษณ์ โดดเด่นเฉพาะตัว ราที่เหมาะสมกับสินค้า “ไม่ใช่สักแต่ว่าถูก”

4. มีความเชื่อมั่น มุ่งมั่น และมั่นใจในสิ่งที่ทำ คนที่ทำสำเร็จส่วนใหญ่มักเชื่อมั่นในตัวเองและมั่นใจว่าจะเกิดผลลัพธ์ที่ดี เพราะการพยายามที่จะไปให้ถึงดวงดาว อย่างน้อยจุดสุดท้ายของคุณจะไม่จมอยู่ในดินแน่นอน

5. วางที่ตั้งบนทำเลเหมาะสม ทำเลเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเป็นร้านค้าที่ต้องการหน้าร้าน ที่ตั้งจะเป็นเรื่องสำคัญ ในขณะเดียวกันทำเลในที่นี้ก็รวมถึงทำเลของแพลทฟอร์มที่คุณควรจะอยู่ด้วยเช่นกัน ทำเลที่ดีต้องเป็นทำเลที่กลุ่มเป้าหมายเราอยู่

6. สร้างจุดแข็ง ด้วยจุดอ่อนของคู่แข่ง การเข้าใจคู่แข่งในตลาดจะทำให้เห็นถึงจุดอ่อนที่มี ซึ่งสามารถนำมาพัฒนาเป็นจุดแข็งให้กับสินค้าหรือบริการของตัวเองได้ “แต่อย่าลืมด้วยว่าจุดอ่อนนั้นคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ”

ทั้ง 6 ข้อที่พูดถึงก่อนหน้านี้เรียกได้ว่า ถ้าคุณเตรียมพร้อมสำหรับธุรกิจเล็กๆ ชองคุณ ก็จะสามารถดำเนินกิจการอย่างมั่นคงไปได้ ก่อนจะไปเรื่องการสร้างแบรนด์ ขอพูดเรื่อง 3 เทรนด์ที่ ธุรกิจขนาดเล็ก – SME ควรต้องรู้ เพราะวันนี้ “ผู้บริโภคต้องการความแตกต่าง (Cr. Gigolo)     

เทรนด์ที่ 1การตลาดไร้กรอบ เน้นการมีส่วนร่วม

โดยเฉพาะการทำการตลาดที่มีความสนุกและการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค สร้างสรรค์กิจกรรมที่ไม่ต้องยึดกรอบเดิมๆ เช่น “Burger King” ที่นำเบอร์เกอร์ของตัวเองมาวางทิ้งปล่อยให้เน่าเละจนสภาพไม่น่าดูเพื่อจะสื่อสารว่า เป็นอาหารที่ไม่มีสารกันบูดใดๆ เลย โดยไม่จำกัดว่าเบอร์เกอร์ต้องดูน่ากิน

เทรนด์ที่ 2ผู้บริโภคมีอำนาจ พร้อมเปลี่ยนแบรนด์เสมอ

เพราะ ความต้องการของลูกค้ามีความซับซ้อนขึ้น Facebook ได้มีการเก็บข้อมูลและพบว่า 3 เหตุผลหลักในการเปลี่ยนแบรนด์ของคนไทย วันนี้คือ เจอสินค้าที่ราคาคุ้มกว่า เจอสินค้าที่ดีกว่าและหาซื้อไม่ได้เลยเปลี่ยนไปซื้อของคู่แข่งที่ทดแทนกันได้

Brand Loyalty มีการเปลี่ยนแปลงเป็น Engagement แทน วันนี้ขอแค่ให้ลูกค้ารู้ว่าแบรนด์เรามีส่วนร่วม และตอบโจทย์ประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตที่ลูกค้าต้องการ ทำให้เกิดความผูกพันกันแง่ อาจทำให้ชีวิตง่ายขึ้น เช่น ร้านหมูกระทะแห่งหนึ่งที่ทำให้ไอศกรีมเป็นก้อนลูกๆ และใช้วิธีคีบเป็นลูกแทนการตักแบบเดิมที่ยากมาก โดยมีการรีทวีตถึง 7 หมืนคน

เทรนด์ที่ 3การแข่งขันท้าชิงผู้บริโภค มองหาช่องว่างให้เจอ

ทุกแพลตฟอร์มต่างพยายามยื้อแย่งผู้บริโภคให้อยู่ในมือ หลายแพลตฟอร์มเริ่มขยายบริการเข้าสู่การขายสินค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มของตัวเองมากยิ่งขึ้น ที่เห็นชัดที่สุดในช่วงนี้คือ TikTok พยายามดึงให้คนเข้ามาใช้บริการและพยายามล็อคให้คนใช้เวลาอยู่ในแพลตฟอร์มเป็นเวลานาน ซึ่งจะช่วยให้เปิดโอกาสในการรับรู้เพิ่มมากขึ้น

THE BOTTOM LINE :

เพราะสถานการณ์ในวันนี้ เมื่อรวมกับเทคโนโลยีทำให้สามารถผลักผู้บริโภคให้เกิดช่องว่างใหม่ๆไม่ว่าจะเป็นการตลาดไร้กรอบเพื่อดึงความสนใจจากลูกค้าที่มีอำนาจ แล้วทุกคนพยายามท้าชิงเพื่อเข้าถึงคนๆ นั้น สิ่งที่แบรนด์ต้องทำคือการทำความเข้าใจลูกค้า แล้วตอนนี้ตลาดหรือคู่แข่งกำลังให้อะไรลูกค้าอยู่ แล้วมีช่องว่างอะไรมั้ย นั่นคือจุดที่ธุรกิจต้องเข้าไปแล้วหาสิ่งที่มาตอบโจทย์ผู้บริโภค

SME จึงต้องมองให้ออกว่า ช่องว่างจะเกิดขึ้นตรงไหน เมื่อเกิดช่องว่างแล้วจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการ แล้วธุรกิจก็จะเข้ามายึดพื้นที่นั้นไว้ ซึ่งหาก SME เข้ายึดพื้นที่ช่องว่างเหล่านั้นช้า โอกาสจะยึดพื้นที่ช่องว่างเหล่านั้นจะกลายเป็นเรื่องที่ยากมาก SME ต้องมองช่องว่างให้เห็น

สิ่งหนึ่งที่ธุรกิจขนาดเล็ก – SME มีคือ โอกาสที่ยิ่งใหญ่ในการสร้างความแตกต่างในโลกของธุรกิจ เพราะธุรกิจขนาดเล็กมักจะสามารถคิด หรือสร้างสรรค์ สินค้า หรือวิธีที่ยอดเยี่ยมในการให้บริการ ที่สร้างผลกระทบต่อโลกที่เราอยู่ได้ “A small business is an amazing way to serve and leave an impact on the world you live in.” -Nicole Snow

ดังนั้นการสร้างแบรนด์ของธุรกิจขนาดเล็ก – SME ให้อยู่รอดท่ามกลางความไม่แน่นอนเป็นงานที่ยาก คราวต่อไปจะบอกวิธีการสร้างแบรนด์เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจขนาดเล็ก – SME ว่าควรต้องทำอะไรบ้าง

ต้องการคำปรึกษา หรือมีคำถาม ติดต่อที่ Comment, Messenger หรือ E-mail : 527may27@gmail.com ได้เลยนะคะ

#527 #brandnode #marketing #research #SME #brand #branding #consultant #knowledge #rebrand #marketing #consumerinsight #แบรนด์ #วิจัย #การตลาด #การสร้างธุรกิจ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *