Skip to content

สี และตัวหนังสือที่จะแสดงว่าเป็นเราคือ….(Step 4 : สร้างแบรนด์ใน 7 ขั้นตอน : สูตรสำเร็จ… ฉบับเร่งรัด) – Brand Building #1.4

>> ในส่วนของสี

 “สี” มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างการจดจำให้กับแบรนด์สินค้าและตัวองค์กร

“สี สามารถเพิ่มการจดจำแบรนด์ได้ถึง 80%”  – Color increases brand recognition by 80% เพราะ สีเข้ามาเกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการรับรู้ของคนที่จะเกี่ยวข้องไปยังสิ่งต่างๆ – ความรู้สึก, อารมณ์ – ที่แต่ละคนมี การรับรู้ เช่น สีฟ้า บางคนจะรู้สึกเศร้า แต่บางคนรู้สึกสดใส

“สี เป็นเครื่องมือที่สามารถสร้างจิตนาการได้หลากหลาย ถ้ารู้จักใช้

QuoTe :

Color is a powerful tool that when used right, can paint vivid fantasies in the minds of many. -Anonymous-

สีเป็นตัวชี้นำที่ดีตัวนึงในการบอก อารมณ์ ของแบรนด์ที่คุณต้องการสื่อสาร และขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงอัตลักษณ์ตัวตนที่เป็นพื้นฐานของแบรนด์ได้อย่างชัดเจน มีข้อควรรระวังข้อหนึ่งในการเลือกสีคือ หลีกเลี่ยงสีที่เป็นสีเดียวกันกับคู่แข่งของคุณ เพราะอาจจะสร้างความสับสนได้

สีนั้นมีผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของคนเราด้วย เราจะเลือกของอะไรสักอย่าง “สี” มักจะเป็นปัจจัยต้นๆ ที่เรานำมาใช้เป็นตัวตัดสิน เรามาดูกันดีกว่าว่าแต่ละสีส่งผลต่อความรู้สึกของเรายังไงบ้าง

เพราะ “สีแสดงความรู้สึกที่ทรงพลังในจิดใจของมนุษย์

QuoTe :

Color express the main psychic functions of man. – Carl Jung –

_ มีคำกล่าวว่า สีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการออกแบบเว็บไซต์ การเลือกสีให้เข้ากับเนื้อหาของเว็บไซต์ จะทำให้เว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น และยังส่งผลอย่างมากกับความสวยงามของเว็บไซต์

_ สีเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ทรงพลัง และสามารถใช้ในการส่งสัญญาณการกระทำ อารมณ์ที่มีอิทธิพลและแม้กระทั่งมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยาทางสรีรวิทยา สีบางส่วนเกี่ยวข้องกับความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้น 

“สีจะมีอิทธิพลโดยตรงไปถึงจิตใจของผู้คน”

QuoTe :

Color is a power which directly influences the soul. -Wassily Kandinsky –

เพราะสีเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อถึงอารมณ์ ดังนั้นเราควรจะต้องเข้าใจความหมายพื้นฐานของสีบ้าง ก่อนที่จะเลือกสีที่จะใช้เป็นสีตัวแทนของแบรนด์เรา

FEELING of Color อารมณ์ของสี (ตัวอย่าง)

RED                      powerful excitement      ตื่นเต้น เต็มไปด้วยพลัง

ORANGE             innovation  friendly        นวัตกรรม เป็นมิตร วัยรุ่น

YELLOW              optimistic  happiness     สดชื่น มีชีวิตชีวา

GREEN                 peaceful health               ร่มรื่น สงบ สุขภาพ

BLUE                    trustworthy  strength     น่าเชื่อถือ เข้มแข็ง

PURPLE               creative royalty                สร้างสรรค์ ดูสูงส่ง

PINK                    romantic beautiful          นุ่มนวล อ่อนหวาน สวยงาม

GOLD                   luxury valuable               หรูหรา  แพง

GRAY                   calm stylish                      สงบ นิ่ง มีสไตล์

BLACK                 classic mystery                คลาสสิก ลึกลับ น่าค้นหา

WHITE                 clean simple                     สะอาด  ดีงาม เรียบง่าย

และในแต่ละปีจะมีกูรูมาแนะนำ Trend ของการเลือกใช้สี จากหลากสำนัก มาแนะนำ ให้ลองเลือกและศึกษาดูเพื่อเป็นแนวทางก็จะดี

>> ในส่วนของตัวหนังสือ

การเลือกตัวหนังสือที่จะใช้ในการสื่อสาร โดยดูจากชื่อ ภาพลักษณ์ บุคลิกภาพ ซึ่งตัวหนังสือนี้จะปรากฏตามสื่อต่างๆ ดังนั้นควรเลือกใช้ฟอนต์ แค่ 1 – 2 แบบ เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับผู้พบเห็น ไม่สับสน โดยอาจจะเลือกฟอนต์แบบที่ 1 เพื่อใช้ในหัวเรื่อง (Headline) และฟอนต์อีก 1 ในส่วนของเนื้อหา (Body Text) ในส่วนการเลือกแบบตัวหนังสือนี้จะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับ Logo ก็ได้ – อาจจะใช้เอาไปประกอบในแง่อารมณ์เท่านั้น

ในโลกปัจจุบันนี้ การสื่อสารโดยใช้เนื้อหาใรรูปแบบการสร้างคอนเทนต์ (Content) ได้กลายเป็นกลยุทธ์สำคัญในการทำการตลาด ดังนั้นรูปแบบของตัวหนังสือยิ่งเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสื่อสาร

เพราะ “รูปแบบของฟอนต์ สามารถทำให้เนื้อหาที่เราพูดดูน่าเชื่อถือขึ้น

QuoTe :

Typography exists to honor content. – Robert Bringhurst –

4 เทคนิค ในการเลือก “ฟอนต์”

  1. ภาพลักษณ์ของธุรกิจเป็นอย่างไร
  2. จะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายแบบไหน
  3. ลูกค้าสามารถอ่านฟอนต์เหล่านี้ได้ง่าย
  4. ฟอนต์ที่เลือกสามารถใช้ได้ดีกับทุกแพลตฟอร์ม

รูปแบบตัวหนังสือ ก็เสมือนกับ การได้ยินเป็นรูปภาพ โดยไม่ต้องอ่านเพราะแบบของตัวหนังสือจะบอกนัยยะ”

“Display type is a visual voice. Without reading, it imparts its message” – Laura Worthington –

แบบตัวหนังสือแต่ละแบบก็ทำให้อารมณ์ FEELING of FONTS ในการสื่อสารที่ต่างกัน แบบตัวอักษรเบื้องต้น ที่ใช้ในงานแตกต่างกัน

BRAND  ฟอนต์ Serif ในภาษาอังกฤษ

ทำให้งานดูคลาสสิคมากขึ้น และนิยมใช้กับงานที่เป็นทางการ

BRAND ฟอนต์ Sans Serif ในภาษาอังกฤษ

ทำให้งานดูทันสมัยขึ้น เรียบง่าย

แบรนด์ ฟอนต์มีหัว

แสดงความเป็นทางการคล้ายๆ กับ Serif ของภาษาอังกฤษ และทำให้อ่านง่าย ไม่สับสนในเรื่องของพยัญชนะ

แบรนด์ ฟอนต์ไม่มีหัว เป็นตัวอักษรที่ให้ความรู้สึกถึงความทันสมัย ซึ่งจะเหมือนกับฟอนต์แบบ San Serif ของตัวอักษรในภาษาอังกฤษ นิยมใช้ตัวอักษรนี้กับงานที่ดูร่วมสมัยและเป็นสากล

Brand ฟอนต์ลายมือ

ดูไม่เป็นทางการ มีความเป็นกันเอง

หากคุณสร้างฟอนต์ที่เกิดจากลายมือของคุณเอง นอกจากจะดูเป็นกันเองแล้ว ยังสื่อให้คนอื่นรู้ว่านี่คือตัวตนของคุณ เปรียบเสมือนเป็น Signature ในงานได้อีกด้วย

Brand ฟอนต์แบบปลายหวัด (Script)

ดูมีชีวิตชีวา อ่อนช้อย และดึงดูดสายตาคนได้ ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ในงานที่สื่อถึงความสวยงาม อ่อนหวาน หรูหราแต่จะใช้ในส่วนหัวข้อ หรือส่วนที่เป็นจุดเด่นของงานที่ต้องการเน้น ไม่เหมาะที่จะใช้ในส่วนที่เป็นเนื้อความ เพราะจะทำให้อ่านยาก

แม้กระทั่งการเลือกแบบตัวหนังสือ ก็มี Trend หลากรูปแบบให้เลือกได้ตามความต้องการของแต่ละแบรนด์

ในการเลือกทั้งสี และแบบตัวหนังสือ ไม่ใช่แค่คำว่าสวย ก็เพียงพอที่จะเป็นแบรนด์ ต้องมีเหตุ และผล รวมทั้งตัวตนของแบรนด์ที่ต้องการสื่อ สีที่ชอบบางครั้งอาจจะไม่ใช่สีที่ใช่ หรือแบบตัวหนังสือที่เราคิกว่าสวย แต่อาจจะไม่เหมาะกับแบรนด์ ดังนั้นเอาแบรนด์เป็นที่ตั้ง เหตุผล และความสวยงามต้องอยู่ในขอบเขตของแบรนด์ที่ต้องการสื่อออกไป

ต้องการคำปรึกษา หรือมีคำถาม ดิดต่อที่ Comment หรือ Messenger ได้เลยนะคะ

#527 #brandnode #marketing #research #SME #brand #branding #consultant #knowledge #rebrand #marketing #consumerinsight #แบรนด์ #วิจัย #การตลาด #การสร้างธุรกิจ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *