Skip to content

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนเริ่มทำธุรกิจของตัวเอง – Branding (SME) #8

ช่วงนี้จะขอพูดเรื่องธุรกิจ SME มากสักนิด เพราะช่วงนี้เรียกได้เป็นช่วงวิกฤตของคนทำงานประจำเป็นจำนวนมากที่ต้องมองหางานสำรอง หรืออาจจะต้องกลายเป็นงานหลักในอนาคตสำหรับบางคนด้วยซ้ำ ด้วยสถานการณ์บังคับบางคนจำเป็นต้องเริ่มธุรกิจแบบไม่ได้เตรียมแผนรองรับที่จะเติบโตในอนาคตไว้เลย หรือบางคนอาจยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าต้องก้าวไปในทิศทางไหน อะไรคือจุดอ่อนที่ต้องรีบแก้ไข และอะไรคือจุดแข็งที่ต้องเร่งต่อยอดเพื่อสร้างโอกาส 

ปัญหาใหญ่ของคนที่ทำธุรกิจของตนเองมักจะคิดแต่ว่าธุรกิจของเราขนาดเล็กไม่ต้องวางแผนอะไรมากหรอดก หรือเรียกว่ามวยวัดที่บุกไปวันๆ และเป็นที่มาของ “ข้อผิดพลาดที่ใหญ่ที่สุดที่ธุรกิจขนาดเล็กสามารถทำได้คือการคิดเหมือนธุรกิจขนาดเล็ก”

The biggest mistake a small business can make is to think like a small business. – Postfilm Design –

อย่างไรก็ตามการวางแผน มีโครงสร้างการทำงานที่ดี มีขั้นตอนก็เป็นเรื่องที่ดี เรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเรื่องที่เจ้าของกิจการ หรือคนที่ต้องการทำกิจการของตนเองต้องรู้ เรียกว่าแม้จะแค่ขาบข้าวแกง หรือจะเป็นการตั้งบริษัทก็ควรจะต้องรู้

และที่สำคัญเจ้าของกิจการต้องระลึกไว้อยู่เสมอ คือ “การตลาดที่ยอดเยี่ยมไม่ได้เกิดขึ้นจากความโชคดีล้วนๆ”

FROm :

Great marketing doesn’t happen by pure luck. – toggl.com –

ก่อนที่จะเริ่มทำธุรกิจ เจ้าของควรจะต้องทำความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ก่อน จะยิ่งดีถ้าเขียนมันออกมาแล้วลองชั่งน้ำหนักดูว่าธุรกิจที่คุณกำลังจะทำนี้มีโอกาสหรือไม่อย่างไร รวมทั้งจะได้เป็นการวางแผนนำทางธุรกิจของคุณในครั้งนี้ด้วย

1. เรื่องของสินค้า ต้องรู้จัก และเข้าใจสินค้าของตนเองว่าคืออะไร ในแง่ของ Product is : สินค้าคุณคืออะไร  หรือเรียกว่าเป็นอะไร โดยจะเน้นที่รูปลักษณ์ภายนอก หรือสิ่งที่สินค้าเป็น ที่จะทำให้เห็นภาพสินค้าได้ รวมทั้งจุดเด่นของสินค้า หรือถ้ามีข้อแตกต่างต้องรู้ว่าอะไร และเรื่องที่สำคัญนอกเหนือจากจุดเด่น คือ “ลูกค้าประจำจะมาจากคุณภาพสินค้าที่ดีด้วยเช่นกัน”

Fans will come if you have a good product. – Steve Alford –

2. สิ่งที่ต้องมี ต้องทำ เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งสินค้า ดูว่าในธุรกิจที่ทำจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ สถานที่ หรือองค์ความรู้อะไรบ้าง ต้องลิสต์รายการสิ่งที่ต้องรู้ต้องทำให้ชัดเจน แล้วจัดลำดับดูว่าต้องทำอะไรก่อนอะไรหลัง 

3. การเลือกกลุ่มลูกค้า “ใคร มีอุปนิสัยยังไง ชอบอะไร ที่สามารถเป็นรายละเอียดตัวตนได้” นั่นคือการหากลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนของคุณ ส่วนมากแล้วเราไม่ค่อยมั่นใจว่าใครกันแน่ที่จะต้องการสินค้าเรา เรามักจะคิดกันว่า “ใครก็ได้” แต่คุณเชื่อหรือไม่ว่าไม่มีสินค้าอะไรที่ทำให้ทุกคนชื่นชอบได้เท่าๆกัน จำให้ดีว่ากลุ่มเป้าหมาย “ใครก็ได้ – ไม่ได้”

ดังนั้นคุณต้องกลับมาคิดว่า ใครคือคนที่จะชื่นชอบ สินค้าของคุณ หรือคุณคิดว่าจะดีสำหรับใคร เพราะ “คุณจะบอกว่าทุกคนคือลูกค้าคุณไม่ได้”

Everyone is not your customer  – Seth Godin –

จริงๆแล้วในเรื่องนี้ถ้าสามารถเรียนรู้การใช้กลยุทธ์ STP ได้จะเป็นการหากลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุด

4. วิธีที่จะติดต่อลูกค้า รวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เริ่มตั้งแต่หาช่องทางที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกต้าเป้าหมาย และจะทำอย่างไรให้ลูกค้ารู้สึกผูกพันกับแบรนด์ มีคำกล่าวนึงว่า “คุณไม่สามารถขายอะไรได้หากคุณไม่สามารถบอกอะไรได้”  

You can’t sell anything if you can’t tell anything. – Beth Comstock –

ดังนั้นหลังจากที่รู้กลุ่มเป้าหมาย ต้องหาวิธีที่จะติดต่อกลุ่มเป้าหมาย เช่น  ถ้าเป็นวัยรุ่นอาจจะต้องติดต่อผ่าน Instagram ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นคนในหมู่บ้านก็อาจจะตั้ง Line กลุ่ม ของหมู่บ้าน เป็นต้น

5. รายได้จะมาจากไหนบ้าง ต้องรู้แหล่งรายได้ที่จะเข้ามาของธุรกิจ รวมทั้งต้นทุนที่ต้องจ่าย – เงินทุนที่ต้องจ่ายในการเริ่มต้นธุรกิจมีอะไรบ้าง ทำบัญชีให้ชัดเจน ในเรื่องต้นทุน ระวังต้นทุนที่มองไม่เห็น เช่น เวลา ค่าแรงตนเอง

ส่วนเรื่องรายได้ ต้องดูไปถึงช่องทางการจัดจำหน่าย การส่ง Delivery การออกบูธ หรือช่องทางอะไรบ้างที่นำมาซึ่งรายได้ และจะมีค่าใช้จ่ายอย่างไร จได้กำไรเท่าไร คุ้มค่ากับที่ทำหรือไม่

6. พาร์ตเนอร์ที่สำคัญ – มีบุคคลใดบ้างที่จะมาเป็นตัวช่วย หรือผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจ ในที่นี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

ผู้ช่วยภายใน คือคนที่จะช่วยเราทำ เตรียมสินค้า ที่อยู่กับเรา ในกรณีที่ขายดี แล้วจะทำอย่างไร มีคนช่วยทำแค่ไหน จะได้รู้ขอบเขตกำลังของตนเอง

ผู้ช่วยภายนอก คือพันธมิตรต่างๆที่ช่วยในการทำธุรกิจให้เติบโต เช่น Application จำหน่ายสินค้า Delivery ต่างๆ กลุ่มธุรกิจที่รวมตัวเช่น ตลาดนัด เป็นต้น

7. กิจกรรมที่ทำ – สำรวจว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ต้องทำ นั่นคือการจัดการกิจกรรมของงานว่ามีอะไรบ้าง เพราะไม่งั้นคุณจะเผชิญปัญหากับงานวันต่อวัน ความก้าวหน้าจะหายาก และสุดท้ายอาจจะเกิดความเบื่อหน่ายที่จะทำต่อ

The Bottom Line

ด้วยเงื่อนไขความเป็น SME – ธุรกิจขนาดเล็ก ทำให้พอจะทำจริงตัวเองกลับใช้ข้ออ้างตลอดเวลาว่า “ฉันเป็นแค่ SME ทำแบบนั้นไม่ได้หรอก” ซึ่งจริงๆแล้วอาจจะไม่ต้องทำทั้งหมดแบบที่เคยเรียน หรือได้ยินมา แต่ต้องประยุกต์ว่าต้องทำอย่างไรให้เข้ากับกิจการที่มีอยู่ของตัวเองตั้งหาก เพราะ”บริษัทที่ยิ่งใหญ่มากมายที่เกิดจากบริษัทเล็ก”  “A big business starts small.”-Richard Branson

ต้องการคำปรึกษา หรือมีคำถาม ติดต่อที่ Comment, Messenger หรือ E-mail : 527may27@gmail.com ได้เลยนะคะ

#527 #brandnode #marketing #research #SME #brand #branding #consultant #knowledge #rebrand #marketing #consumerinsight #แบรนด์ #วิจัย #การตลาด #การสร้างธุรกิจ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *