บ่อยมากที่เจอคำถามจากเจ้าของกิจการโดนเฉพาะ เจ้าของธุรกิจ SME ลงโฆษณา online ยอด Like เพียบ แต่จำเราไม่ได้ “จริงๆคำตอบตรงนี้ไม่มีอะไรมาก นั่นคือ สิ่งที่คุณทำมันไม่มีอะไรที่น่าจำ หรือถ้าจำได้ก็จำไปเป็นคนอื่น หรือพูดง่ายๆ คือถึงชอบต่พอจะซื้อก็จำไม่ได้ว่าแบรนด์อะไร” ปัญหาที่เกิดขึ้น เรียกได้ว่าปัญหาใหญ่ในโลกยุคออนไลน์นี้ก็ว่าได้
ซึ่งสาเหตุใหญ่ที่ทำให้คนจำแบรนด์ไม่ได้ คือ แบรนด์ไม่มีการกำหนด “ตัวตน” ที่ชัดเจนพอ หรือไม่เคยกำหนดเลย!
เรียกได้ว่า เจ้าของธุรกิจ SME ส่วนใหญ่พลาดไป ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นคือภาพที่เหมือนกันเต็มท้องตลาด พูดคล้ายกัน สื่อสารคล้ายกัน ไม่มีตัวตน หรือบางคนก็สื่อสารตามคนอื่นสะเปะสะปะไปมาจนไม่รู้ว่าเราเป็นใคร
ขอเท้าความสักนิด การสร้างตัวตนโดยใช้หลักการ Brand Archetype เริ่มจากหนังสือปี 2544 เรื่อง“ The Hero and the Outlaw: Building Extraordinary Brands through the Power of Archetypes” ของ Margaret Mark และ Carol S. Pearson ที่กล่าวว่า;
“Archetypes เป็นหัวใจสำคัญของแบรนด์ เพราะสื่อถึงความหมายที่ทำให้ลูกค้ามีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์ราวกับว่ามันมีชีวิตจริงในทางใดทางหนึ่ง พวกเขามีความสัมพันธ์กับมัน และใส่ใจกับมัน”
“Archetypes are the heartbeat of a brand because they convey a meaning that makes customers relate to a product as if it actually were alive in some way, they have a relationship with it and care about it.” Margaret Mark and Carol S. Pearson, wrote The Hero and the Outlaw: Building Extraordinary Brands Through the Power of Archetypes
เพราะ แบรนด์ที่ดีจะต้องกำหนดได้ว่าแบรนด์เป็นใคร บุคลิกแบบไหน ให้มีเอกลักษณ์และชัดเจน เฉพาะตัว “แบรนด์ที่มีตัวตนอย่างเหมาะสม และชัดเจน ก็จะไม่มีคู่แข่งที่จะมาเสมือนคุณได้”
“When You Brand Yourself Properly, Competition Becomes Irrelevant” – Anonymous –
อาจจะกล่าวได้ว่าการเริ่มต้นที่ดี เลือกตัวตนที่เห็นเด่นชัด ความสว่างไสวในการที่จะเริ่มต้นธุรกิจก็จะปรากฎขึ้น
เรื่องการสร้างตัวตนแบรนด์นี้ เจ้าของแบรนด์ควรจะต้องใช้เวลาในการเลือกให้ดีว่าเราจะมีบุคลิกภาพอย่างไร โดยปกติแล้วคนแต่ละคนจะชื่นชอบที่จะคุยหรือติดต่อ เชื่อใจคนที่บุคลิกแตกต่างกันแต่ละคนไป ดังนั้นการที่เราจะเป็นใครก็จะเป็นเสน่ห์ที่จะเลือกคนที่อยากเข้ามาคุยกับเรา และยิ่งไปกว่านั้นการเลือกบุคลิกที่กลุ่มเป้าหมายที่ตรงกันกับคนที่อยากติดต่อด้วย ก็จะยิ่งเพิ่มเสน่ห์ให้แบรนด์คุณไปมากยิ่งขึ้นด้วย
“การเลือกบุคลิกภาพ จากแบรนด์แม่แบบ – brand archetype- ก็จะเป็นอีกทางนึงที่จะทำให้เห็นถึงรูปแบบการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งอาจจะไปถึงการสร้างความจงรักภักดีต่อแบรนด์ได้”
QUOTe :
“Having a well-defined brand archetype helps you build relationships with your customers and fosters brand loyalty.” – Patrick McGilvray –
แบรนด์ที่มีการเลือกบุคลิกภาพที่ดีจะได้ประโยชน์อย่างไร
_ทำให้แตกต่าง และมีเอกลักษณ์ เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง
_ทำให้การสื่อสารเป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งภายใน และกับลูกค้าในทุกๆ สื่อ
_ทำให้เกิดสาวกของแบรนด์ได้ หรืออาจจะเรียกว่าเกิด Brand Loyalty ได้
จะเห็นว่าเหตุผลว่าทำไมการเลือก Brand Archetype จึงมีความสำคัญต่อแบรนด์ของคุณ เมื่อคุณเลิกมองว่าแบรนด์ของคุณเป็น “สินค้า” ที่จะขายและเริ่มมองว่าแบรนด์ของคุณเป็น “บุคคลที่มีบุคลิก” จะทำให้การโปรโมตแบรนด์ของคุณและสร้างลูกค้าที่ภักดีตลอดชีวิตนั้นง่ายขึ้นมาก
การสร้างตัวตนแบรนด์ เพราะมาจากความเชื่อที่ว่า “คนเรามักจะชอบคนที่เหมือนเรา และเราจะชอบซื้ออะไรจากคนที่เราชอบ”
People like people like them. People buy from who they like. – Anonymous –
ต้นแบบ (หรือบุคลิก) ทั้ง 12 แบบนี้ถูกระบุครั้งแรกโดยจิตแพทย์ชาวสวิสคาร์ลจุงซึ่งใช้แนวคิดนี้ในทฤษฎีจิตวิญญาณของมนุษย์ พวกเขาเป็นตัวแทนของแรงจูงใจที่พบบ่อยที่สุดของมนุษย์ และอ้างว่าเราแต่ละคนมีต้นแบบที่โดดเด่นอย่างหนึ่งที่กำหนด และครอบงำบุคลิกภาพของเรา
แม่แบบแต่ละคนพยายามและปรารถนาที่จะมอบความรู้สึกที่เฉพาะเจาะจงให้กับผู้อื่น
ดังนั้นทฤษฎี Brand Archetype เป็นการกำหนดบุคลิกภาพของแบรนด์คุณให้ชัดเจนได้เช่นกัน ซึ่งในทฤษฎีนี้จะมีบุคลิกภาพให้ดูทั้งหมด 12 แม่แบบ ให้คุณเลือกสรร ว่าบุคลิกลักษณะใดที่เหมาะกับแบรนด์คุณ
- คนไร้เดียงสา Innocent – ต้องการความปลอดภัย (แบรนด์แห่งความบริสุทธิ์)
เป็นลักษณะที่แบรนด์ที่อยากจะสงบสุข เรียบง่าย หรือหวังให้ตัวเองสงบสุข และมองโลกในแง่ดี เรียกกลุ่มนี้ว่า “โลกสวย”
2. คนฉลาด Sage – ต้องการเข้าใจ (แบรนด์แห่งความเฉลียวฉลาด)
เป็นลักษณะแบรนด์ที่ชอบค้นคว้า หรือให้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อการเรียนรู้ เน้นการ “รู้” และไม่มีคำว่า “รู้มากเกินไป”
3. นักผจญภัย Explorer – ต้องการอิสระ (แบรนด์แห่งความอิสระ)
เป็นลักษณะแบรนด์ที่มีพลังงานและอยากจะออกผจญภัย หรือแสวงหาความท้าทาย และการหลีกหนีจากความจำเจ ได้ “เห็น” และ “สัมผัส” อะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ
4. นักแหกกฎ Outlaw – ต้องการออกจากฏเกณฑ์ (แบรนด์แห่งความแตกต่าง)
เป็นลักษณะแบรนด์ที่ไม่สนใจกฏ และทำตามใจตัวเอง ชอบการเปลี่ยนแปลงสังคม และไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ เรียกกลุ่มนี้ว่า “ขบถ”
5. ผู้วิเศษ Magician – ต้องการ “พลัง” (แบรนด์แห่งความเป็นไปได้)
เป็นลักษณะแบรนด์ที่สร้างสรรค์สิ่งที่ไม่มีจริง เป็นจินตนาการให้คนอื่น และช่วยทำให้ความฝันหรือจินตนาการกลายมาเป็นความจริง มีลักษณะภาพของการให้ “พลัง” ที่เหนือกว่าพลังปรกติเพื่อไปใช้แก้ปัญหา
6. ผู้กล้าหาญ Hero – ต้องการเป็นผู้พิชิต (ความชั่วร้าย) (แบรนด์แห่งความเป็นวีรบุรุษ)
เป็นลักษณะแบรนด์ที่ทำให้คุณนั้นเอาชนะอุปสรรค ฝ่าฟันไปถึงจุดหมายที่คุณต้องการได้ เหมือนการเอา ”ชนะตัวร้าย” นั่นเป็นแบบที่เข้าใจกันง่ายๆ
7. นักรัก Lover – ต้องการใกล้ชิดกับอีกฝ่าย (แบรนด์แห่งความเสน่หา)
เป็นลักษณะแบรนด์ที่สร้างความรัก ความเสน่หา ความลุ่มหลง ความพึงพอใจ หรือสร้างอารมณ์รักให้คนต่าง ๆ
เป็นกลุ่มแบรนด์ที่สื่อถึงความรัก ความเสน่หา ความลุ่มหลง ความพึงพอใจ มักใช้ภาพที่สื่อถึงอารมณ์ และปลุกเร้าความรู้สึก มีการ “ปลุก” ความรู้สึกต่างๆ ให้รู้สึกน่าหลงใหล
8. คนสร้างความสนุก Jester – ต้องการสนุก (แบรนด์แห่งความสนุกสนาน)
เป็นลักษณะแบรนด์ที่ให้อารมณ์ขัน เจ้าสำราญ มีความสุขเจ้าสำราญ มีความสุข และสนุกกับแบรนด์ เน้น ”เฮฮา”
9. คนสังคม Everyman – ต้องการอยู่เป็นส่วนหนึ่งกับทุกคน (แบรนด์แห่งความเป็นปุถุชน)
เป็นลักษณะแบรนด์ที่แทนตัวคนทุกคน เป็นตัวแทนของคนปกติธรรมดา อยู่กับความเป็นจริง เรียบง่าย และเข้าใจคนทั่วไป สามารถ “เข้าถึงได้” รวมถึงการเป็นคน “ปรกติ”
10. คนสร้างสรรค์ Creator – ต้องการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (แบรนด์แห่งการสร้างสรรค์)
เป็นลักษณะแบรนด์ที่อยากสร้างสรรค์ ทำจินตนาการให้เป็นจริง เป็นนักคิด นักสร้างสรรค์ อยากทำสิ่งต่างๆ ให้ดีกว่าเดิม ต้องการ “สร้างอะไรที่ดีกว่าเดิม” ให้กับโลกโดยใช้ความสามารถของพวกเขาเอง
11. นักปกครอง Ruler – ต้องการควบคุม (แบรนด์แห่งความเป็นผู้นำ)
เป็นลักษณะแบรนด์ที่อยากปกครอง หรือกำหนดแนวทางให้คนเดินตาม พลังในการควบคุม เป็นผู้นำตลาด เมื่อผู้บริโภคใช้แบรนด์เหล่านี้ จะรู้สึกภาคภูมิใจ เป็นการบอกว่าตัวเองคือ “ผู้นำ” หรือ “ผู้กำหนดทิศทาง”
12. ผู้ห่วงใย Caregiver – ต้องการช่วยเหลือผู้อื่น (แบรนด์แห่งความห่วงใย)
เป็นลักษณะที่ห่วงใยคนอื่น ให้ความรู้สึกถึงการให้ การแบ่งปัน และแบ่งปันความรู้ดีความรักกับคนอื่น เป็น “ผู้ให้” อย่างแท้จริง
The Bottom Line
Every brand has its OWN PERSONALITY. That what’s makes them STAND OUT
“แบรนด์ที่แสดงบุคลิกที่ชัดเจน จะโดดเด่นได้”
Think of brands as human personalities. A brand’s personality is a defining factor of a brand success
แบรนด์มีบุคลิกภาพชัดเจน เป็นปัจจัยสำคัญที่สำคัญที่จะทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จ
แบรนด์ที่ดี หรือเรียกว่าประสบความสำเร็จทุกวันนี้ จะเป็นแบรนด์ที่มีการแสดงออกที่ชัดเจน สื่อสารได้ชัดเจน พูดคุยกับสาวกของตนเองได้อย่างชัดเจน สม่ำเสมอ ถ้าวันนี้คุณยังไม่มีบุคลิกภาพ หรือตัวตนชัดเจน หาให้เจอ ว่าแบรนด์เราควรจะมีบุคลิกยังไง และสื่อสาร ทำทุกอย่างให้ตรงกับบุคลิกที่สร้างไว้ และอีกอย่างทำอย่างสม่ำเสมอ
ความสวยงามทำให้เตะตา
แต่…บุคลิกภาพ สามารถจับใจคน
“Beauty Attracts the Eye but personality captures the heart” -Anonymous-
ต้องการคำปรึกษา หรือมีคำถาม ติดต่อที่ Comment, Messenger หรือ E-mail : 527may27@gmail.com ได้เลยนะคะ
#527 #brandnode #marketing #research #SME #brand #branding #consultant #knowledge #rebrand #marketing #consumerinsight #แบรนด์ #วิจัย #การตลาด #การสร้างธุรกิจ