“รู้เรารู้เขา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง
รู้เราแต่ไม่รู้เขา เจ้าจะชนะหนึ่งครั้งแพ้หนึ่งครั้งสลับกันไป
ไม่รู้เราไม่รู้เขา รบร้อยครั้งแพ้ร้อยครั้ง”
QUOTe :
“If you know the enemy and know yourself, you need not fear the results of a hundred battles.
If you know yourself, but not the enemy, for every victory gained, you will also suffer a defeat.
If you know neither the enemy nor yourself, you will succumb in every battle.” – Sun Tzu –
ก่อนที่จะก้าวเดินต่อไปในการที่จะสร้างแบรนด์ ก้าวแรกที่ดีก็มีชัยไปกว่าครึ่ง นั่นคือคุณต้องเข้าใจสถานการณ์พื้นฐาน ทั้งเรื่องสินค้าของตัวเอง ตลาดของสินค้าที่คุณจะทำ ว่าเป็นอย่างไร ใครจะซื้อ จะขายที่ไหนอย่างไร ดังนั้นถ้าเราจะขายของสิ่งที่คุณควรจะรู้พื้นฐาน คือ
· Product is : สินค้าคุณคืออะไร หรือเรียกว่าเป็นอะไร โดยจะเน้นที่รูปลักษณ์ภายนอก หรือสิ่งที่สินค้าเป็น ที่จะทำให้เห็นภาพสินค้าได้
“ฉันจะขายเสื้อผ้า…ชุดทำงาน”
“ฉันจะขายเบเกอรี่…พวกขนมปังไส้เยอะ”
“ฉันจะขายไก่ทอด…ที่แสนอร่อย” อื่นอีกมากมาย
โดยเบื้องต้น สินค้าที่ดีคือสินค้าที่มีคนต้องการในวันนี้ และควรจะมีความต้องการในอนาคต ซึ่งคุณควรจะเข้าใจแนวโน้มความต้องการสินค้าด้วยก็จะยิ่งดี – TREND ช่วยเราได้ (จะได้ทำอะไรไม่ตกเทรนด์) เพราะ (TREND is) เทรนด์ คือ เรื่องราวที่… คาดว่าจะอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต และ “เลือกทำสินค้าที่มีคนต้องการ ย่อมดีกว่าทำสินค้าที่ต้องหาคนต้องการ”
QUOTe :
“Don’t find customers for your products, find products for your customers.” – Seth Godin –
– Describe your product : นอกเหนือจากแค่อะไร คุณจะอธิบายสินค้าของคุณอย่างไร เพื่อให้สินค้าของคุณมีตัวตนได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ดังนั้นการคิดว่าว่าสินค้าแค่คืออะไรไม่พอ ต้องสามารถอธิบายได้ว่าสินค้าของคุณจะสนองความต้องการของผู้ซื้อได้อย่างไร – คุณรู้ยังว่าสินค้าสามารถสนองความต้องการได้ถึง 3 ระดับ ยิ่งลึกยิ่งขาดไม่ได้ แล้วสินค้าคุณละสามารถสนองความต้องการได้ถึงระดับไหน
– ฉันจะขายเสื้อผ้า…ชุดทำงาน สไตล์ เกาหลี ตัดเย็บประณีต ใส่แล้วคุณจะดูเท่ห์ สวย ทันสมัย….. .”เสื้อผ้าของที่นี่ใส่แล้วจะดูรสนิยม มีระดับ”
– ฉันจะขายเบเกอรี่…พวกขนมปังไส้เยอะ ไส้แน่นทุกลูก มีหลากรสชาติ 7วันไม่ซ้ำ จุใจ จนต้องหยิบก้อนที่สอง “ขนมปังร้านเต็มปากเต็มคำ ฉลาดที่ได้กิน”
– ฉันจะขายไก่ทอด…ที่แสนอร่อย รสชาติเข้าเนื้อ นุ่มใน ชุ่มฉ่ำยันคำสุดท้าย ฟินตั้งแต่คำแรก จนหยุดฟินไม่ได้ “กินแล้วจะไม่ตกเทรนด์”
·Who’s BIG in this MARKET ใครคือจ้าวตลาด รวมทั้งใครละที่ทำคล้ายๆเราบ้าง หรือคู่แข่งเราคือใครบ้าง
“เรียนรู้จากคู่แข่ง ว่าเขาทำอะไร ทำอย่างไร แต่อย่าเลียนแบบ การเลียนแบบยังไงก็จะเป็นแค่ของเลียนแบบ”
QUOTe :
“You should learn from your competitor, but never copy -. Copy and you die.” – Jack Ma –
เวลาพูดถึงสินค้าประเภทเดียวกับคุณ หรือใกล้เคียง คุณจะนึกถึงใคร – แบรนด์อะไร สินค้าเค้าเหมือนกับคุณตรงไหนบ้าง และไม่เหมือนตรงไหน ในส่วนนี้ควรจะใช้หลักการในการเปรียบเทียบเพื่อที่จะหาช่องว่างในการตลาดที่คุณจะเข้าไปยืนอยู่ได้
การใช้หลักการพื้นฐานของ 4P’s หรือ 4C’s (ควรทำความรู้จัก 4P หรือ 4C ของการตลาดแบบง่ายๆ ว่าคืออะไร) มาตรวจดูคู่แข่งเพื่อเปรียบเทียบ และจะนำมาซึ่งความแตกต่างหรือจุดเด่นของสินค้าตัวเองได้ทางนึง
·The FIRST CUSTOMER is – ลูกค้าคนแรกๆที่ซื้อสินค้าคือใคร จริงๆแล้วก็คือการหากลุ่มเป้าหมายของคุณนั่นเอง โดยให้จัดกลุ่มจากลูกค้ากลุ่มแรกที่คุณคิดว่าจะซื้อสินค้าคุณ และคนไหนซื้อซ้ำบ้างหาความเหมือนของคนกลุ่มนั้น นั่นแหละคนที่ชื่นชอบคุณ
My target is : หากลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนของคุณ ส่วนมากแล้วเราไม่ค่อยมั่นใจว่าใครกันแน่ที่จะต้องการสินค้าเรา เรามักจะคิดกันว่า “ใครก็ได้” แต่คุณเชื่อหรือไม่ว่าไม่มีสินค้าอะไรที่ทำให้ทุกคนชื่นชอบได้เท่าๆกัน จำให้ดีว่ากลุ่มเป้าหมาย “ใครก็ได้ – ไม่ได้”
ดังนั้นคุณต้องกลับมาคิดว่า ใครคือคนที่จะชื่นชอบ สินค้าของคุณ หรือคุณคิดว่าจะดีสำหรับใคร การกำหนดกลุ่มเป้าหมายทำได้หลายวิธี
Demographic เช่น เพศ อายุ อาชีพ รายได้ สถานภาพ
Geographic เช่น ระยะทาง เขต จังหวัด ภาค
Psychographic เช่น บุคลิกภาพ ทัศนคติ ไลฟ์สไตล์
Behavioral เช่น ความถี่ ประสบการณ์ ผลประโยชน์
ถ้าคุณขาย ขายเสื้อผ้า…ชุดทำงาน สไตล์ เกาหลี ตัดเย็บประณีต ใส่แล้วคุณจะดูเท่ห์ สวย ทันสมัย………. เสื้อผ้าของที่นี่ใส่แล้วจะดูรสนิยม มีระดับ” แล้วคุณใช้หลักการนี้ในการกำหนดเป้าหมายก็จะเป็น
หลักการพื้นฐาน – ผู้หญิง อายุ 25 ปี จบปริญญาตรีขึ้นไป รายได้ 15,000 บาท อาชีพทำงานออฟฟิศ
กำหนดแนวทางพฤติกรรม – ชอบแต่งตัว ซื้อเสื้อผ้าบ่อย ชื่นชอบแฟชั่นสไตล์ต่างประเทศ ที่ดูทันสมัย เป็นคนยุคใหม่สื่อสารทางออนไลน์เป็นหลัก ชื่นชอบดาราต่างประเทศ – ไม่ซื้อเสื้อผ้าราคาแพงมาก เพราะซื้อบ่อย ชอบซื้อสินค้าตามแหล่งช้อปปิ้ง
แบบนี้คุณคิดว่านี่คือคำตอบที่ดีของกลุ่มเป้าหมายของคุณหรือไม่ ที่คุณจะทำให้คุณเข้าใจ เพื่อนำไปใช้สื่อสาร หรือพูดคุยกับคนกลุ่มนี้ได้หรือไม่
_ เพิ่มเติม ดูจากคู่แข่งของเราว่ากลุ่มเป้าหมายหลักของคู่แข่งคือใคร หรือใครที่ดูเหมือนจะซื้อสินค้าคู่แข่งมากที่สุด แล้วนำมาเปรียบเทียบกับกลุ่มเป้าหมายของคุณว่าคุณควรจะเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบนี้หรือไม่อย่างไร
เมื่อคุณได้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว เรียบเรียงข้อมูลของคุณให้เรียบร้อย และนี่จะเป็นข้อมูลพื้นฐานแบรนด์ที่คุณกำลังจะเป็น
อีกสักนิด อย่าเรียบเรียงข้อมูลในสมองต้องเขียนออกมาให้เป็นเรื่องราว ไม่ว่าความจำคุณจะดีแค่ไหนก็ตาม
ทั้งนี้ทั้งนั้น การที่เราจะรู้ และเข้าใจสถานการณ์จริง การ “มโนขึ้นมา” จะเป็นสิ่งที่น่ากลัวในการที่จะได้มาซึ่งคำตอบในการที่จะดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก ดังนั้นควรมีการจัดระบบในการจัดหาข้อมูล การวิเคราะห์ เพื่อหาเหตุและผล เรียกว่าหา “Why behind What” แล้วคุณจะได้มั่นใจในข้อมูลที่จะใช้ตัดสินในการกำหนดทิศทางในการดำเนินธุรกิจของคุณ เรียนรู้การหาคำตอบ “Why behind What” ว่าคืออะไร
ต้องการคำปรึกษา หรือมีคำถาม ดิดต่อที่ Comment หรือ Messenger ได้เลยนะคะ
#527 #brandnode #marketing #research #SME #brand #branding #consultant #knowledge #rebrand #marketing #consumerinsight #แบรนด์ #วิจัย #การตลาด #การสร้างธุรกิจ